สทนช. จับตาพายุ “ยางิ” เตือนใต้เขื่อนเจ้าพระยารับมือน้ำท่วม
วันที่ (4 ก.ย.2567) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เผยหลังจากเป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ สถานการณ์ในเดือนนี้ พบว่าหลายพื้นที่มีแนวโน้มที่จะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ โดยขณะนี้ได้เฝ้าระวังพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” ซึ่งกำลังเคลื่อนตัวมาจากประเทศฟิลิปปินส์
โดยกรมอุตุนิยมวิทยา และ สสน. ประเมินทิศทางของพายุ ว่าจะเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และคาดว่าจะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงวันที่ 6 – 7 ก.ย. นี้ ซึ่งได้มีการติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
โดย ช่วงวันที่ 5-7 ก.ย.2567 ร่องมรสุมกำลังปานกลางเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงได้ที่พัดปกคลุมภาคได้ ภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
สำหรับพายุโซนร้อน “ยางิ” (YAGI) บริเวณทะเลจีนได้ตอนบนมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีปริมาณน้ำมากกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังพวัดเชียงไหม่ อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา กิ่วลม และ แม่จาง จ.ลำปาง อำงเก็บน้ำหัวยหลวง จ.อุดรธานี อ่างเก็บน้ำนฤบอินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี ซึ่ง สทนช. ได้มีการแนะนำให้มีการพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำในเดือน ก.ย. และ ต.ค. โดยให้พิจารณาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนพื้นที่ท้ายน้ำ
เลขาธิการ สทนช. ระบุว่า จากการประเมินฝนช่วงนี้ ที่มีปริมาณมากกว่าปกติ และคาดการณ์ว่าระดับน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จะเพิ่มขึ้นจาก 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ซึ่งอาจจะทำให้การระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ต้องปรับเพิ่มจากวันละ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็นวันละ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีได้และคาดว่า 1-7 วันข้างหน้า จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากการระบายของเขื่อนเจ้าพระยา
โดยประชาชนที่อยู่ใต้เขื่อนเจ้าพระยา เช่น จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี เตรียมรับมือน้ำท่วม ยกของขึ้นที่สูง
และในพรุ่งนี้ (4 ก.ย.) สทนช.จะลงพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อประชุมร่วมกับหน่วยบริหารจัดการน้ำ วางแผนรับมือช่วยเหลือและสร้างความเชื่อมั่นด้านการบริหารจัดการน้ำให้กับประชาชน
ส่วนกรณีโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ใน จ.แพร่ หลังน้ำท่วมหลายพื้นที่ของลุ่มน้ำยม
ทำให้ชาวบ้าน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ พื้นที่วางโครงการ ประกาศคัดค้านปิดพื้นที่ไม่ให้มีการสำรวจ
เลขาธิการ สทนช. ระบุว่า ต้องมีการพูดคุย หากมีแผนดำเนินงานที่ชัดเจน แต่ขณะนี้ยังต้องผ่านกระบวนการ เอสอีเอ หรือ แนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในลุ่มน้ำยมก่อน
ฝนตกหนักคืนนี้ เปิด 29 จังหวัด รับมือ
วันนี้ 4 ก.ย. 2567 ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมถึงระวังอันตรายจากลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 ก.ย. 67 นี้ไว้ด้วย
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “ยางิ” (YAGI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว โดยคาดว่าในช่วงวันที่ 6-7 ก.ย. 67 จะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 67
พยากรณ์อากาศวันนี้ตั้งแต่เวลา 12:00 น. วันนี้ ถึง 12:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดตาก และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดอุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.