News

หมอปอด เผยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัด ฝุ่น PM2.5 สาเหตุหลักเกิดมะเร็งปอด

หมอปอด เผยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัด ฝุ่น PM2.5 สาเหตุหลักเกิดมะเร็งปอด แต่เป็นตัวกระตุ้นให้ป่วย ชี้คนไข้อาจอยู่ในระยะก่อนเป็นโรคอยู่แล้ว

วันที่ 6 เม.ย.2567 พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์ปอด สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงความสัมพันธ์ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 กับการวินิจฉัยโรค ว่า กรณีการป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคมะเร็ง ปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดว่าการเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับฝุ่น PM2.5 หรือไม่

566000004026302

เนื่องจากฝุ่น PM2.5 มีโมเลกุลขนาดเล็กมาก และสามารถกระตุ้นทำให้ร่างกายมนุษย์เกิดการโต้ตอบ เช่น การเกิดอนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบในลักษณะการอักเสบของร่างกาย โดยบางครั้งการโต้ตอบก็เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดสารก่อมะเร็งขึ้นมาได้

“เมื่อร่างกายเราได้รับฝุ่น PM2.5 ขึ้นมา ก็จะมีการสร้างอนุมูลอิสระขึ้นมา ซึ่งจะมีผลในการกระตุ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกาย ทำให้เกิดเป็นสารก่อมะเร็งขึ้นมา ดังนั้น การจะจับว่าฝุ่น PM2.5 อยู่ในมะเร็งนั้นหรือไม่ มันจะไม่เห็น เพราะเป็นลักษณะที่ร่างกายเกิดการโต้ตอบ” พญ.เปี่ยมลาภกล่าว

เมื่อถามว่ากรณีที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด จะสามารถพิสูจน์ได้หรือไม่ว่าเกิดจากฝุ่น PM2.5 พญ.เปี่ยมลาภ กล่าวว่า มีการพิสูจน์ในระดับงานวิจัยว่าฝุ่น PM2.5 ในระยะยาว มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็ง ไม่ว่าจะมะเร็งปอดหรือมะเร็งส่วนอื่นๆ ก็จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมะเร็งปอดที่เป็นอวัยวะรับฝุ่นโดยตรง ฉะนั้นจากข้อมูลก็จะเห็นว่ายิ่งระดับฝุ่น PM2.5 ยิ่งสูงนานๆ การเกิดมะเร็งก็ยิ่งมากขึ้นIMG 2207 1


ถามย้ำว่าการเกิดมะเร็งปอด อาจมีความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นที่มีฝุ่น PM2.5 เป็นตัวกระตุ้น พญ.เปี่ยมลาภกล่าวว่า ใช่ เพราะฝุ่น PM2.5 ไปกระตุ้นให้เกิด เพราะผู้ป่วยอาจจะอยู่ในระยะก่อนมะเร็ง (pre-cancer) อยู่แล้ว ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอยู่แล้ว เมื่อฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ร่างกายก็จะเข้าไปกระตุ้นทำให้การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่เกิดเป็นมะเร็งมากขึ้น

เมื่อถามว่าสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่มีความเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคหรือไม่ พญ.เปี่ยมลาภ กล่าวว่า หากสิ่งแวดล้อมหรือภูมิลำเนาที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่มีปริมาณฝุ่น PM2.5 มาก แต่ก็ต้องไปดูว่าผู้ป่วยได้รับฝุ่นมากแค่ไหน เช่น หากผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่ปิด อากาศดี ไม่ได้รับฝุ่นยาวนาน ถึงแม้ฝุ่นในสิ่งแวดล้อมจะเยอะแต่เปอร์เซ็นต์การเข้าไปรับฝุ่นก็น้อย

ฉะนั้น การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นมาก จะมีทั้งคนที่ป่วยและไม่ป่วย ขึ้นอยู่กับร่างกาย, ปริมาณของฝุ่นที่ได้รับว่าสูงและยาวนานหรือไม่ และการป้องกันตัวเองจากฝุ่น เช่น การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา อยู่ในพื้นที่ปิด เหล่านี้ทำให้ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคนต่างกันIMG 2208 1

“จะต้องมีปริมาณฝุ่น PM2.5 สูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาว ซึ่งยังไม่มีข้อมูลว่ามนุษย์รับฝุ่นกี่ปี หรือรับมากแค่ไหน ถึงจะป่วย เพราะเราอาจอยู่ในพื้นที่ที่มีสิ่งแวดล้อมนั้นจริง แต่เราไม่ได้ออกไปข้างนอกบ่อยๆ หรือเราอยู่ในห้องที่มีการกรองอากาศ โอกาสรับฝุ่นก็น้อยลง

ดังนั้นจะบอกว่าฝุ่นเกี่ยวข้องกับการป่วยหรือไม่ ต้องใช้หลักฐาน แต่จะบอกว่าคนนี้จะเป็น คนนี้จะไม่เป็น ตรงนี้บอกไม่ได้” พญ.เปี่ยมลาภกล่าว

ถามต่อว่าในหลักการแพทย์ปัจจุบันมีการเขียนสาเหตุการป่วยมะเร็งปอดว่าเกิดจากฝุ่น PM2.5 หรือไม่ พญ.เปี่ยมลาภ กล่าวว่า เราจะใช้คำว่า ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) คือ ฝุ่น PM2.5 เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งจริงๆ แล้วก็จะเกิดสารขึ้นมาหลายชนิด เช่น กำมะถัน หรือซัลเฟอร์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซิลิกอนไดออกไซด์ รวมถึงฝุ่น PM2.5 ด้วย ดังนั้น ทั้งหมดนี้เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้
%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99 %E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *